สถิติเว็บไซต์

696751
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
132
84
453
694681
4325
7371
696751

Your IP: 18.119.107.96
Server Time: 2024-04-24 11:33:50

วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม

๑ . ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม สังกัด มหานิกาย วัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๗ บ้านเหล่างิ้ว หมู่ที่ ๒

ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ ๔๕๐๐๐

ระยะทางจากจังหวัดถึงวัด ๑๑ กิโลเมตร

จำนวนพระภิกษุ ๑๑ รูป (พ.ศ.2529 ปีที่ขอสร้างวัด) สามเณร – รูป แม่ชี ๒ คน / ศิษย์วัด ๑ คน

นามเจ้าอาวาส พระอธิการจำเริญ ฉายา เตชปัญโญ นามเดิม จำเริญ ก้อมโกสุมภ์

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒

ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑

ที่ดิน ที่ตั้งวัด     จำนวน ๖๙ ไร่ ๓ งาน ๙๖ ตารางวา

       ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน............ไร่...............งาน..........ตารางวา

       ที่กัลปนา  จำนวน............ไร่...............งาน..........ตารางวา

๒ . เขตที่ตั้งวัดและอุปจารของวัด ที่ราบลุ่ม ทุ่งนาล้อมรอบ

       ด้านทิศตะวันออก จดที่นาชาวบ้าน ด้านทิศตะวันตกจดที่นาชาวบ้าน ด้านทิศเหนือจดที่นาชาวบ้าน ด้านทิศใต้ จดที่นาชาวบ้าน

๓ .ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ

    ถ่ายเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2528

   วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ เมื่อก่อนเป็นพื้นที่ของชาวบ้าน มีเจ้าของ พอดีหลวงปู่ได้มาพักปักกลดบำเพ็ญภาวนาที่โนนโพนยูง ไปๆ มาๆ เกิดนิมิตต่างๆ คู่กับดงบ้านเก่า (วัดป่าม่วงปัจจุบัน ) ญาติโยมเจ้าของที่มีจิตศรัทธาเลยนิมนต์มาให้อยู่สร้างวัด ท่านไปขออนุญาตกับอุปัชฌาอาจารย์ ท่านก็อนุญาต หลวงปู่จึงประกาศตั้งสัตย์อธิษฐาน ในการที่จะอยู่สร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๙ ทุกสิ่งทุกอย่างสร้างขึ้นตามนิมิต เมื่อสัมฤทธิ์ตามสมควรแล้วจึงได้ขอสร้างวัด ขอตั้งวัดในนาม วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม แต่ผลอนุญาตมากับเป็นชื่อวัดเหล่างิ้ว คงเป็นเพราะขณะนั้นวัดบ้านเหล่างิ้วไม่มี   มีแต่วัดตาลทุ่งศรีสะอาดประจำในหมู่บ้าน พอวัดบ้าน(วัดตาลทุ่งศรีสะอาด) ขอเปลี่ยนชื่อเป็นวัดบ้านเหล่างิ้ว วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรมจึงขอเปลี่ยนจากวัดเหล่างิ้วมาเป็นวัดทุ่งนิมิตสถิตธรรมตามเจตนาเดิมที่ตั้งไว้ ในพ.ศ. ๒๕๕๐  ทางสำนักพุทธศาสนา ได้แต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ 3 ในนาม                  “วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม”

                ( หมายเหตุ:ขอตั้งวัดในนาม วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.2529 แต่มาได้ใช้ชื่อนี้ใน พ.ศ.2550 สืบเนื่องจาก ในช่วงขอตั้งนามวัดช่วงแรก       พ.ศ.2529 ขณะนั้น อุปัชฌาย์อาจารย์ของหลวงปู่จำเริญรับเป็นภาระในการขอตั้งนามวัด แต่ต่อมาอุปัชฌาย์อาจารย์ของหลวงปู่จำเริญมรณภาพเสียก่อน เรื่องขอตั้งนามวัดจึงไม่ได้ดำเนินการต่อ มาทราบภายหลังจึงได้ดำเนินการเอง เป็นเหตุให้เวลาล่วงเลยมานานพอควร)

              รายชื่อญาติโยมที่ บริจาคที่ดินถวายเพื่อสร้างวัด ๑. นายเอก- นางอำนวย ก้อมโกสุมภ์ ๒. นายบุญมี- นางเสน ปะกาโส ๓. นายจันทร์-นางทีป อุ่นจังหาร ๔. นายบุญมา- นางทองดี ธรรมบุตร ๕. นายวัน ไชยฮะนิจพร้อมบุตร-ธิดา และญาติ ๖. นายเหรียญ – นางช่วย ผาสุข ๗. นายบุญมี- นางสุนี บุญจังหาร ๘. นายสมาน-นางสีดา เกษบัวขาว ๙. นายเสาร์-นางพร ม่อยจังหาร ๑๐. นายแดง-นางบับ พันธุมี ๑๑. นางเขียว พร้อมบุตรธิดาและโดยเฉพาะ คุณสุรัชดา จันทราศรีไสล พร้อมด้วยบุตรธิดาและญาติ เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ในการจัดหาที่ดินเพิ่มให้แก่วัดทุ่งนิมิตสถิตธรรม รวมทั้งการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ได้ให้ความอุปถัมภ์ค้ำชู ให้มีความเจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน

๔ . ทรัพย์สินและเสนาสนะของวัด

       ศาลาการเปรียญ จำนวน ๑ หลัง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๒.๙๐ เมตร วิหารจำนวน ๑ หลังกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ห้องสมุดธรรม (ตึกพุทธศาสน์) จำนวน ๑ หลัง กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สูง ๖ ชั้น กุฎิสงฆ์ จำนวน ๑๖ หลัง กุฎิรับรอง ๑ หลัง ๔ ห้อง ๒ ชั้น เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาติและบรรจุอัฎฐบริขารบูรพาจารย์ จำนวน ๒ หลัง ศาลาร่วมมิตร จำนวน ๒ หลัง กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร ศาลาหลอดทอง จำนวน ๑ หลัง ศาลาหอกลอง หอฆ้อง หอระฆัง และหอโปรง จำนวน ๔ หลัง กว้าง ๒ เมตร ยาว ๒ เมตร โรงครัวและโรงทานจำนวน ๒ หลัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๘ เมตร กุฏิแม่ขาว จำนวน ๒๒ หลัง ห้องน้ำ จำนวน ๑๘ ห้อง กุฏิพ่อขาว ๑๑ หลัง ห้องน้ำ ๑๑ หลัง ห้องน้ำสงฆ์ ๒๔ หลัง

๕. การศึกษา และสาธารณสงเคราะห์ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

     พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้จัดตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

๖. การบริหารและการปกครอง

     มีเจ้าอาวาส คือ พระอธิการจำเริญ เตชปัญโญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ – จนถึงปัจจุบัน

 

ข้อมูลจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด

                                      ชาวนาผู้โง่เขลา

         ทุ่งเอ๋ยทุ่งนิมิต ฯ                                เกิดจากจิตของชาวนาผู้โง่เขลา

ไถหว่านดำบำรุงแล้วไม่เอา                             ช่างโง่เขลาเหมือนบ้าก้มหน้าทำ

ใครเอาลาภยศฐาน์เข้ามาให้                            เห็นเป็นภัยจะเผาทุ่งถิ่นอาศัย

ปฏิเสธบอกไม่รับคืนกลับไป                             โอ้วิสัยชาวนาโง่โก้ไม่เป็น

แต่ละวันอยู่ไปไม่สรรสร้างๆๆ                         มันอยู่อย่างคนบ้าช่างน่าหัว

นั่งปิดปากตาหูเฝ้าดูตัว                                 บอกนารั่วทุ่งล่มจมลับไป

มันจึงไม่ใส่ใจในทุกอย่าง                                เอาความว่างเป็นคู่หมู่ศึกษา

อนิจจังนาทุ่งทุกเวลา                                    อนัตตามันบอกว่าบ้าถึงเอย

   ใครอยากบ้าตามชาวนาที่ว่านี้             ความเป็นมีทุกอย่างวางได้ไหม

แล้วปลูกศีลสมาธิลงที่ใจ                      สว่างใสสงบมั่นไม่สั่นคลอน

อนัตตาก็ปรากฎอย่างแจ่มแจ้ง                มันแสดงเกิดดับตรงคำสอน

เข้าถึงบ้าตามชาวนาทุกขั้นตอน               จบคำสอนที่โง่เขลาเจ้าชาวนา

 

 

บัวจะบานก็เมื่อพ้นน้ำ           คนจะถึงธรรมก็เมื่อพ้นตัว

ความผิดพลาดเป็นใบประกาศ   แห่งการบรรลุธรรม